วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

การทดลองวิทยาศาสตร์


การทดลองวิทยาศาสตร์




https://previews.123rf.com/images/katrinahappy/katrinahappy1304/katrinahappy130400073/18862130-Illustration-Cartoon-character-scientist-in-laboratory-on-white-background-Stock-Vector.jpg




การทดลองที่ 1 : จรวดถุงชามหัศจรรย์ ( Tea bag Rocket )

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก nikolya

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • ถุงชา 
          • ไฟเเช็ก หรือไม้ขีดไฟ
          • ถาด (เอาไว้รองพวกเปลวไฟ) 
          • ถุงขยะ (สำหรับไว้ใส่ถุงชาที่ไหม้แล้ว)

วิธีการทดลอง 

          ตัดถุงชาด้านหนึ่งออก เทผงชาที่อยู่ด้านในทิ้ง จากนั้นนำถุงชามาตั้งเป็นทรงกระบอกลงบนถาด จุดไฟบนปากถุง แล้วเราลองมาดูกันว่าตอนปล่อยตัวจรวดถุงชาขึ้นฟ้านั้นจะเจ๋งแค่ไหนกัน

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก nikolya 

ทำไมถุงชาถึงลอยได้ ? 


          เหตุผลที่ถุงชาลอยขึ้นได้นั้น เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อนภายในถุง ซึ่งลมร้อนนั้นเป็นอากาศที่เบามากส่งผลให้จรวดถุงชาลอยได้นั่นเอง 

การทดลองที่ 2 : เบ็ดตก น้ำแข็ง ( Ice Fishing )

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก schule-und-familie

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • อ่างสำหรับใส่น้ำ
          • ก้อนน้ำแข็ง
          • เกลือ
          • เชือก 

วิธีการทดลอง 


          ใส่ก้อนน้ำแข็งลงในภาชนะที่ใส่น้ำไว้ นำเชือกมาวางพาดลงไปให้ผ่านก้อนน้ำแข็ง จากนั้นเทเกลือลงไปบนก้อนน้ำแข็ง ทิ้งไว้ประมาณสัก 5-10 นาที ดึงปลายเชือกทั้งสองด้านขึ้นมา แล้วคุณจะพบว่าเจ้าก้อนน้ำเเข็งนั้นติดมากับเชือกด้วย

ทำไมเชือกถึงติดมากับก้อนน้ำแข็งได้ ? 

          สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเกลือที่เราใส่ลงไปมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิของน้ำที่แข็งตัวอยู่ให้ละลาย แล้วหลอมตัวใหม่ยึดติดกับเชือกไว้ได้นั่นเอง

การทดลองที่ 3 : ภูเขาไฟจำลอง ( Home Volcano) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก hanscience

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • เบกกิ้งโซดา
          • สีผสม อาหารสีแดง หรือ สีน้ำสีแดง
          • น้ำเปล่า 
          • น้ำยาล้างจาน
          • น้ำ ส้มสายชู 
          • กระดาษแข็ง 
          • ดินน้ำมัน

วิธีการทดลอง


ขั้นตอนที่ 1 : การทำภูเขาไฟ

          นำกระดาษแข็งมาทำเป็นรูปทรงกรวย ตัดปากกระดาษส่วนบนออก แล้วใช้ดินน้ำมันมาก่อให้เป็นรูปภูเขาไฟ วางลงบนฐานเพื่อป้องกันการเลอะขณะที่ภูเขาไฟระเบิด ตกแต่งบริเวณโดยรอบให้สวยงามสมจริง 

ขั้นตอนที่ 2 : การทำลาวา


          ผสมเบกกิ้งโซดา สีผสมอาหาร และน้ำลงในปล่องภูเขาไฟ เติมน้ำยาล้างจานลงไปสักหยดพร้อมคนทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำส้มสายชูตามลงไปแล้วรอสักครู่ ภูเขาไฟพร้อมจะระเบิดลาวาออกมาเเล้ว 

ทำไมลาวาจึงปะทุตัวระเบิดออกมา ? 


          สาเหตุที่ฟองลาวาสีแดงปะทุตัวออกมานี้ เป็นเพราะปฏิกิริยาของเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูที่เราเติมลงไปทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ฟู่ขึ้นมาหรือที่เราเรียกว่า ภูเขาไฟระเบิดนั่นเอง

การทดลองที่ 4 : ลูกโป่งสวรรค์จากปากขวด (Self-Inflating Balloons) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก hetaqrqire

สิ่งที่คุณต้องเตรียม


          • ลูกโป่ง
          • ขวดเปล่า ขนาด 1-1.5 ลิตร 
          • ช้อนชา 
          • กรวย 
          • น้ำส้มสายชู 
          • เบกกิ้งโซดา

วิธีการทดลอง 


          เทน้ำส้มสายชูลงไปประมาณเศษ 1 ส่วน 3 ของขวดที่เตรียมไว้ ขณะเดียวกันใส่เบกกิ้งโซดาลงไปในลูกโป่งสัก 2-3 ช้อนชาโดยใช้กรวยเป็นตัวช่วย จากนั้นนำลูกโปงมาครอบไว้บนปากขวด ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ลูกโป่งจะค่อย ๆ พองตัวขึ้น หาหนังยางมารัดปากลูกโป่งไว้ ทำแบบนี้หลาย ๆ ลูก คุณก็จะได้ลูกโป่งสรรค์ลอยฟ้าไว้จัดปาร์ตี้มากมาย

ทำไมขวดถึงสามารถเป่าลูกโป่งได้ ?

          นั่นเป็นเพราะการทำปฏิกิริยากันระหว่างเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู โดยปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งตัวก๊าซที่มีความเบากว่าอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น เมื่อก๊าซมากเข้า ๆ จึงดันลูกโป่งให้พองออกได้นั่นเอง 

การทดลองที่ 5 : ปอกเปลือกไข่ด้วยน้ำส้มสายชู (Soft Naked Egg) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก smiletv

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • ไข่ไก่ดิบ 2 ฟอง
          • แก้วหรือเหยือก 2 ใบ
          • น้ำเปล่า 
          • น้ำส้มสายชู 

วิธีการทดลอง 


          นำไข่ไก่ฟองแรกใส่ลงไปในเหยือกน้ำเปล่า ส่วนไข่ฟองที่สองให้ใส่ลงไปในเหยือกน้ำส้มสายชู วางทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งสองเหยือกที่แตกต่างกัน โดยที่เปลือกไข่ไก่ในเหยือกของน้ำสมสายชูนั้นจะอันตรธานหายไป เหลือเพียงเยื่อหุ้มไข่ซึ่งหุ้มของเหลวภายในไว้เท่านั้น

เปลือกไข่หายไปได้อย่างไรกัน ? 

          การแช่ไข่ไก่ไว้ในน้ำส้มสายชูเป็นเวลานาน จะทำให้เปลือกไข่ทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติในน้ำส้มสายชู ซึ่งเปลือกไข่นั้นประกอบไปด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน พอมาเจอกับกรดอะซิติกจึงเกิดการกัดกร่อน ทำให้เปลือกไข่หายไปหมด

การทดลองที่ 6 : กระดาษปากแก้ว (Paper cover) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก nik-show

สิ่งที่คุณต้องเตรียม 

          • แก้ว 1 ใบ 
          • น้ำเปล่า 
          • กระดาษ 

วิธีการทดลอง

          ใส่น้ำให้เต็มแก้ว จากนั้นนำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางไว้บนขอบแก้ว ค่อย ๆ คว่ำแก้วลง สังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้น คุณจะพบว่าแผ่นกระดาษนั้นติดไปกับแก้วไม่หล่นลงมา 





อ้างอิง
                         
         https://hilight.kapook.com/view/145815

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น