วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

เกล็ดความรู้วิทยาศาสตร์


เกล็ดความรู้วิทยาศาสตร์

http://d386abn1q7bvvp.cloudfront.net/makeweb/r_0x0,g_se/L3m9wGGgh/DefaultData/question_answer_icon_3.png


ทำไมพริกจึงเผ็ด ?       ความเผ็ดร้อนเกิดจากกรดชนิดหนึ่งเรียกว่าแคปไซซิน ซึ่งอยู่ที่ผิวด้านในของฝักพริก หลายคนเข้าใจผิดว่าเม็ดพริกก็เผ็ดเหมือนกัน ทั้งที่ตามจริงไม่มีแคปไซซินเลย อย่างไรก็ตามกรดชนิดนี้กระจายอยู่ในยวงที่มีเม็ดพริกติดอยู่ เมื่อแกะเม็ดพริกออก เนื้อพริกในส่วนนี้ก็จะติดมาด้วยและทำให้เผ็ดน้อยลง แม้แคปไซซินจะให้รสเผ็ดถึงใจก็ตาม พริกแต่ละเม็ดมีกรดชนิดนี้อยู่เพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น
ทำไมรอยฟกช้ำจึงมีสีคล้ำดำเขียว ?     เมื่อร่างกายเราถูกกระแทกหรือถูกตีอย่างแรงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตก เลือดจะไหลซึมออกมานองอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังปูดออก บริเวณที่เลือดไหลนองนี้อยู่ลึกถัดไปจากหนังกำพร้าชั้นใน ถ้าถูกกระแทกใหม่ ๆ จะเป็นรอยแดงจาง ๆ เมื่อผ่านวันไปจะมีสีคล้ำขึ้น การที่เราเห็นเป็นสีคล้ำเขียวก็เพราะแสงที่ส่องกระทบรอยฟกช้ำนั้นสะท้อนมาเข้าตาเรา ก่อนที่แสงจะมาเข้าตาเรา แสงจะต้องผ่านชั้นต่าง ๆ ของผิวหนัง กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะดูดซับแสงสีแดงไว้ ส่วนแสงสีน้ำเงินถึงแสงสีม่วงจะไม่ถูกดูดซับ เราจึงเห็นเป็นสีม่วงคล้ำบริเวณนั้น ยิ่งรอยฟกช้ำขยายตัวลึกเข้าไปมากเพียงใด แสงก็จะถูกดูดซับมากขึ้น เราก็จะยิ่งเห็นรอยฟกช้ำคล้ำมากขึ้น ร่างกายจะพยายามกำจัดเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวที่ถูกทำลายแล้ว รวมทั้งชิ้นส่วนเซลล์ที่แตกหลุดออกมา เม็ดเลือดแดงจะสลายตัวมีสีซีดลงจนเหลือง และสุดท้ายเม็ดเลือดขาวจะมากลืนกินสิ่งเหล่านี้ เพื่อทำความสะอาด ในที่สุดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเข้าสู่สภาพเดิม
บาดแผลหายได้อย่างไร ?      ขณะที่เรากำลังใช้มีด บางครั้งอาจจะเผลอทำมีดบาดตัวเอง แต่ทันทีทันใดนั้น ร่างกายของเราก็จะเริ่มซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นทันที สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ภายในเวลาไม่กี่นาที ปลายเส้นเลือดที่ขาดก็ถูกหยุดด้วย เกล็ดเลือด ( platelets ) และเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริน ( fibrin ) เลือดที่ออกมาอยู่ในแผลก็จะแข็งตัวกลายเป็นสะเก็ดคลุมแผลอยู่ร่างกายเริ่มส่งเลือดมายังบริเวณบาดแผลเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดขาวที่มากับกระแสเลือดก็จะคอยฆ่าพวกเชื้อโรคที่บุกรุกเข้ามา คอยจับทำลายพวกเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ขณะเดียวกัน เซลล์ชั้นนอกสุดของผิวหนัง ( epidermal cell ) ก็จะแบ่งตัว และเคลื่อนที่จากขอบแผลทั้งสองข้างเข้ามาบรรจบกันใหม่ตรงกลายภายใต้สะเก็ดเลือด บาดแผลก็จะถูกคลุมด้วยชั้นเซลล์เหมือนเดิม เส้นเลือดในบริเวณนั้นจะเจริญแทงเข้ามายังบาดแผลเพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยง เซลล์ที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสต์ ( fibroblast ) จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างเนื้อเยื่อมาเสริมบริเวณบาดแผลให้เต็มโดยการผลิต คอลลาเจน ( collagen ) ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีความเหนียว ทำให้บาดแผลมีความแข็งแรง ขณะเดียวกันไฟโบรบลาสต์จะหดตัว ทำให้บาดแผลสองข้างชิดกันเข้ามามากขึ้น ปลายเส้นประสาทที่ขาดก็จะค่อย ๆ สอดเข้าไปในแผลเพื่อให้ความรู้สึกบางส่วนของบริเวณนั้นกลับคืนมา เส้นเลือดต่าง ๆ ก็จะงอกเข้าหากันจนประสานกันเป็นร่างแหอยู่ภายในบาดแผล ในที่สุด สะเก็ดเลือดบนแผลก็หลุดออกไป ผิวหนังก็กลับมาประสานกันเหมือนเดิม เนื้อเยื่อภายใต้นั้นก็จะหนาแน่นไปด้วยไฟโบรบลาสต์และเส้นใยคอลลาเจน ซึ่งจะค่อย ๆ เรียงตัวให้อยู่ในแนวที่รับความตึงเครียดได้ดีที่สุด เพื่อให้บาดแผลที่หายแล้ว มีความแข็งแรงเหมือนเดิม กำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ     นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ค้นพบความลับของวงจรชีวิตของจระเข้แอลลิเกเตอร์ คือแอลลิเกเตอร์สามารถกำหนดเพศของลูกน้อยได้ด้วยอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว หากไข่ของมันถูกเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 86 องศาฟาเรนไฮต์ ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของการฟักไข่ ไข่เหล่านี้จะฟักออกเป็นตัวเมียทั้งหมดและไข่ที่ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักออกมาเป็นตัวผู้ทั้งหมด ส่วนไข่ที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิระหว่าง 86-94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย นักวิจัยได้เริ่มสังเกตเห็นความลับนี้จากการเฝ้าดู เขาพบว่าจระเข้ที่วางไข่ในหนองบึงเฉอะแฉะเย็นชื้น ไข่จะฟักเป็นตัวเมีย ส่วนไข่ที่วางบนฝั่งที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึงจะออกมาเป็นตัวผู้ ปริศนาที่ว่าทำไมอุณหภูมิจึงกำหนดเพศได้ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าขณะที่อุณหภูมิสูนั้นตัวอ่อนจะใช้ไข่แดงหมดไปอย่างรวดเร็วจนเหลืออาหารน้อยไม่เพียงพอแก่การพัฒนาไข่เป็นเพศเมีย
ประโยชน์ของฟ้าแลบ ?     สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประมาณไว้ว่า ในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี ในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) สารประกอบนี้มีไนโตรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน1 อะตอม มันจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไป และกลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3) ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสาร เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืช ดังนั้น ถึงคนขวัญอ่อนจะไม่ค่อยชอบฟ้าแลบนัก แต่ก็ควรทำใจสักนิดให้ชอบสักหน่อยเพราะมีผลดีต่อชาวนาที่ผลิตพืชผักผลไม้มาให้เรากินอยู่ทุก ๆ วัน

ทำไมท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ?

แท้จริงแล้วท้องฟ้าเองไม่มีสี แสงสีฟ้าที่เห็นเกิดจากสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงอาทิตย์ โฟตอนของแสงสีฟ้ามีพลังงานมากกว่าโฟตอนของแสงสีอื่น จึงทำให้มันชนอะตอมอื่นออกไปได้มากกว่าและเคลื่อนลงต่ำมาเข้าตาเรา ดังนั้นเมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า เราเลยเห็นโฟตอนแสงสีฟ้ามาก ทำให้เห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า แต่สีของดวงอาทิตย์ขณะลับขอบฟ้าไม่ได้เป็นสีฟ้า เพราะเมื่อดวงอาทิตย์ลดต่ำลง เราจะเห็นแสงอาทิตย์ส่องเป็นมุมผ่านฝุ่นสกปรกในอากาศ ฝุ่นละอองเหล่านี้จะสะท้อนโฟตอนสีฟ้าส่วนใหญ่ออกไปก่อนที่แสงจะมาเข้าตาเรา จึงทำให้เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีส้ม ๆ แดง ๆ

อ้างอิง

https://pannapa501.wordpress.com/2013/03/04/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น