วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี

ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี
        จากความหมายของคำว่า "วิทยาศาสตร์" และความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี" ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่นำไปใช้อธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ นักฟิสิกส์ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จึงมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีนั้นจะเป็นความรู้ว่าจะทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น จะขยายพันธุ์พืชโดยการตอนได้อย่างไร จะผลิตกระแสไฟฟ้านำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จะผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยนำไฟฟ้ากระแสมาใช้ได้อย่างไร เหล่านี้ เป็นต้น
        จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติ ต่าง ๆ มาใช้ในทางปฏิบัติ 
       



 ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงด้วยภาพดังต่อไปนี้

    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
+
    ทรัพยากรณ์ธรรมชาาติ
-------------->
  เทคโนโลยี

 สรุปได้ว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะไม่มีคุณค่า ถ้าหากปราศจากเทคโนโลยีมาเชื่อมโยง และเทคโนโลยีที่ปราศจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานก็ไม่สามารถจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด


อ้างอิง
http://ammzaa.blogspot.com/2013/02/blog-post_23.html

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

การทดลองวิทยาศาสตร์


การทดลองวิทยาศาสตร์




https://previews.123rf.com/images/katrinahappy/katrinahappy1304/katrinahappy130400073/18862130-Illustration-Cartoon-character-scientist-in-laboratory-on-white-background-Stock-Vector.jpg




การทดลองที่ 1 : จรวดถุงชามหัศจรรย์ ( Tea bag Rocket )

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก nikolya

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • ถุงชา 
          • ไฟเเช็ก หรือไม้ขีดไฟ
          • ถาด (เอาไว้รองพวกเปลวไฟ) 
          • ถุงขยะ (สำหรับไว้ใส่ถุงชาที่ไหม้แล้ว)

วิธีการทดลอง 

          ตัดถุงชาด้านหนึ่งออก เทผงชาที่อยู่ด้านในทิ้ง จากนั้นนำถุงชามาตั้งเป็นทรงกระบอกลงบนถาด จุดไฟบนปากถุง แล้วเราลองมาดูกันว่าตอนปล่อยตัวจรวดถุงชาขึ้นฟ้านั้นจะเจ๋งแค่ไหนกัน

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก nikolya 

ทำไมถุงชาถึงลอยได้ ? 


          เหตุผลที่ถุงชาลอยขึ้นได้นั้น เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อนภายในถุง ซึ่งลมร้อนนั้นเป็นอากาศที่เบามากส่งผลให้จรวดถุงชาลอยได้นั่นเอง 

การทดลองที่ 2 : เบ็ดตก น้ำแข็ง ( Ice Fishing )

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก schule-und-familie

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • อ่างสำหรับใส่น้ำ
          • ก้อนน้ำแข็ง
          • เกลือ
          • เชือก 

วิธีการทดลอง 


          ใส่ก้อนน้ำแข็งลงในภาชนะที่ใส่น้ำไว้ นำเชือกมาวางพาดลงไปให้ผ่านก้อนน้ำแข็ง จากนั้นเทเกลือลงไปบนก้อนน้ำแข็ง ทิ้งไว้ประมาณสัก 5-10 นาที ดึงปลายเชือกทั้งสองด้านขึ้นมา แล้วคุณจะพบว่าเจ้าก้อนน้ำเเข็งนั้นติดมากับเชือกด้วย

ทำไมเชือกถึงติดมากับก้อนน้ำแข็งได้ ? 

          สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเกลือที่เราใส่ลงไปมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิของน้ำที่แข็งตัวอยู่ให้ละลาย แล้วหลอมตัวใหม่ยึดติดกับเชือกไว้ได้นั่นเอง

การทดลองที่ 3 : ภูเขาไฟจำลอง ( Home Volcano) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก hanscience

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • เบกกิ้งโซดา
          • สีผสม อาหารสีแดง หรือ สีน้ำสีแดง
          • น้ำเปล่า 
          • น้ำยาล้างจาน
          • น้ำ ส้มสายชู 
          • กระดาษแข็ง 
          • ดินน้ำมัน

วิธีการทดลอง


ขั้นตอนที่ 1 : การทำภูเขาไฟ

          นำกระดาษแข็งมาทำเป็นรูปทรงกรวย ตัดปากกระดาษส่วนบนออก แล้วใช้ดินน้ำมันมาก่อให้เป็นรูปภูเขาไฟ วางลงบนฐานเพื่อป้องกันการเลอะขณะที่ภูเขาไฟระเบิด ตกแต่งบริเวณโดยรอบให้สวยงามสมจริง 

ขั้นตอนที่ 2 : การทำลาวา


          ผสมเบกกิ้งโซดา สีผสมอาหาร และน้ำลงในปล่องภูเขาไฟ เติมน้ำยาล้างจานลงไปสักหยดพร้อมคนทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำส้มสายชูตามลงไปแล้วรอสักครู่ ภูเขาไฟพร้อมจะระเบิดลาวาออกมาเเล้ว 

ทำไมลาวาจึงปะทุตัวระเบิดออกมา ? 


          สาเหตุที่ฟองลาวาสีแดงปะทุตัวออกมานี้ เป็นเพราะปฏิกิริยาของเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูที่เราเติมลงไปทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ฟู่ขึ้นมาหรือที่เราเรียกว่า ภูเขาไฟระเบิดนั่นเอง

การทดลองที่ 4 : ลูกโป่งสวรรค์จากปากขวด (Self-Inflating Balloons) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก hetaqrqire

สิ่งที่คุณต้องเตรียม


          • ลูกโป่ง
          • ขวดเปล่า ขนาด 1-1.5 ลิตร 
          • ช้อนชา 
          • กรวย 
          • น้ำส้มสายชู 
          • เบกกิ้งโซดา

วิธีการทดลอง 


          เทน้ำส้มสายชูลงไปประมาณเศษ 1 ส่วน 3 ของขวดที่เตรียมไว้ ขณะเดียวกันใส่เบกกิ้งโซดาลงไปในลูกโป่งสัก 2-3 ช้อนชาโดยใช้กรวยเป็นตัวช่วย จากนั้นนำลูกโปงมาครอบไว้บนปากขวด ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ลูกโป่งจะค่อย ๆ พองตัวขึ้น หาหนังยางมารัดปากลูกโป่งไว้ ทำแบบนี้หลาย ๆ ลูก คุณก็จะได้ลูกโป่งสรรค์ลอยฟ้าไว้จัดปาร์ตี้มากมาย

ทำไมขวดถึงสามารถเป่าลูกโป่งได้ ?

          นั่นเป็นเพราะการทำปฏิกิริยากันระหว่างเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู โดยปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งตัวก๊าซที่มีความเบากว่าอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น เมื่อก๊าซมากเข้า ๆ จึงดันลูกโป่งให้พองออกได้นั่นเอง 

การทดลองที่ 5 : ปอกเปลือกไข่ด้วยน้ำส้มสายชู (Soft Naked Egg) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก smiletv

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

          • ไข่ไก่ดิบ 2 ฟอง
          • แก้วหรือเหยือก 2 ใบ
          • น้ำเปล่า 
          • น้ำส้มสายชู 

วิธีการทดลอง 


          นำไข่ไก่ฟองแรกใส่ลงไปในเหยือกน้ำเปล่า ส่วนไข่ฟองที่สองให้ใส่ลงไปในเหยือกน้ำส้มสายชู วางทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งสองเหยือกที่แตกต่างกัน โดยที่เปลือกไข่ไก่ในเหยือกของน้ำสมสายชูนั้นจะอันตรธานหายไป เหลือเพียงเยื่อหุ้มไข่ซึ่งหุ้มของเหลวภายในไว้เท่านั้น

เปลือกไข่หายไปได้อย่างไรกัน ? 

          การแช่ไข่ไก่ไว้ในน้ำส้มสายชูเป็นเวลานาน จะทำให้เปลือกไข่ทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติในน้ำส้มสายชู ซึ่งเปลือกไข่นั้นประกอบไปด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน พอมาเจอกับกรดอะซิติกจึงเกิดการกัดกร่อน ทำให้เปลือกไข่หายไปหมด

การทดลองที่ 6 : กระดาษปากแก้ว (Paper cover) 

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก
ภาพจาก nik-show

สิ่งที่คุณต้องเตรียม 

          • แก้ว 1 ใบ 
          • น้ำเปล่า 
          • กระดาษ 

วิธีการทดลอง

          ใส่น้ำให้เต็มแก้ว จากนั้นนำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางไว้บนขอบแก้ว ค่อย ๆ คว่ำแก้วลง สังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้น คุณจะพบว่าแผ่นกระดาษนั้นติดไปกับแก้วไม่หล่นลงมา 





อ้างอิง
                         
         https://hilight.kapook.com/view/145815

เกล็ดความรู้วิทยาศาสตร์


เกล็ดความรู้วิทยาศาสตร์

http://d386abn1q7bvvp.cloudfront.net/makeweb/r_0x0,g_se/L3m9wGGgh/DefaultData/question_answer_icon_3.png


ทำไมพริกจึงเผ็ด ?       ความเผ็ดร้อนเกิดจากกรดชนิดหนึ่งเรียกว่าแคปไซซิน ซึ่งอยู่ที่ผิวด้านในของฝักพริก หลายคนเข้าใจผิดว่าเม็ดพริกก็เผ็ดเหมือนกัน ทั้งที่ตามจริงไม่มีแคปไซซินเลย อย่างไรก็ตามกรดชนิดนี้กระจายอยู่ในยวงที่มีเม็ดพริกติดอยู่ เมื่อแกะเม็ดพริกออก เนื้อพริกในส่วนนี้ก็จะติดมาด้วยและทำให้เผ็ดน้อยลง แม้แคปไซซินจะให้รสเผ็ดถึงใจก็ตาม พริกแต่ละเม็ดมีกรดชนิดนี้อยู่เพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น
ทำไมรอยฟกช้ำจึงมีสีคล้ำดำเขียว ?     เมื่อร่างกายเราถูกกระแทกหรือถูกตีอย่างแรงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตก เลือดจะไหลซึมออกมานองอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังปูดออก บริเวณที่เลือดไหลนองนี้อยู่ลึกถัดไปจากหนังกำพร้าชั้นใน ถ้าถูกกระแทกใหม่ ๆ จะเป็นรอยแดงจาง ๆ เมื่อผ่านวันไปจะมีสีคล้ำขึ้น การที่เราเห็นเป็นสีคล้ำเขียวก็เพราะแสงที่ส่องกระทบรอยฟกช้ำนั้นสะท้อนมาเข้าตาเรา ก่อนที่แสงจะมาเข้าตาเรา แสงจะต้องผ่านชั้นต่าง ๆ ของผิวหนัง กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะดูดซับแสงสีแดงไว้ ส่วนแสงสีน้ำเงินถึงแสงสีม่วงจะไม่ถูกดูดซับ เราจึงเห็นเป็นสีม่วงคล้ำบริเวณนั้น ยิ่งรอยฟกช้ำขยายตัวลึกเข้าไปมากเพียงใด แสงก็จะถูกดูดซับมากขึ้น เราก็จะยิ่งเห็นรอยฟกช้ำคล้ำมากขึ้น ร่างกายจะพยายามกำจัดเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวที่ถูกทำลายแล้ว รวมทั้งชิ้นส่วนเซลล์ที่แตกหลุดออกมา เม็ดเลือดแดงจะสลายตัวมีสีซีดลงจนเหลือง และสุดท้ายเม็ดเลือดขาวจะมากลืนกินสิ่งเหล่านี้ เพื่อทำความสะอาด ในที่สุดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเข้าสู่สภาพเดิม
บาดแผลหายได้อย่างไร ?      ขณะที่เรากำลังใช้มีด บางครั้งอาจจะเผลอทำมีดบาดตัวเอง แต่ทันทีทันใดนั้น ร่างกายของเราก็จะเริ่มซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นทันที สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ภายในเวลาไม่กี่นาที ปลายเส้นเลือดที่ขาดก็ถูกหยุดด้วย เกล็ดเลือด ( platelets ) และเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริน ( fibrin ) เลือดที่ออกมาอยู่ในแผลก็จะแข็งตัวกลายเป็นสะเก็ดคลุมแผลอยู่ร่างกายเริ่มส่งเลือดมายังบริเวณบาดแผลเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดขาวที่มากับกระแสเลือดก็จะคอยฆ่าพวกเชื้อโรคที่บุกรุกเข้ามา คอยจับทำลายพวกเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ขณะเดียวกัน เซลล์ชั้นนอกสุดของผิวหนัง ( epidermal cell ) ก็จะแบ่งตัว และเคลื่อนที่จากขอบแผลทั้งสองข้างเข้ามาบรรจบกันใหม่ตรงกลายภายใต้สะเก็ดเลือด บาดแผลก็จะถูกคลุมด้วยชั้นเซลล์เหมือนเดิม เส้นเลือดในบริเวณนั้นจะเจริญแทงเข้ามายังบาดแผลเพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยง เซลล์ที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสต์ ( fibroblast ) จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างเนื้อเยื่อมาเสริมบริเวณบาดแผลให้เต็มโดยการผลิต คอลลาเจน ( collagen ) ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีความเหนียว ทำให้บาดแผลมีความแข็งแรง ขณะเดียวกันไฟโบรบลาสต์จะหดตัว ทำให้บาดแผลสองข้างชิดกันเข้ามามากขึ้น ปลายเส้นประสาทที่ขาดก็จะค่อย ๆ สอดเข้าไปในแผลเพื่อให้ความรู้สึกบางส่วนของบริเวณนั้นกลับคืนมา เส้นเลือดต่าง ๆ ก็จะงอกเข้าหากันจนประสานกันเป็นร่างแหอยู่ภายในบาดแผล ในที่สุด สะเก็ดเลือดบนแผลก็หลุดออกไป ผิวหนังก็กลับมาประสานกันเหมือนเดิม เนื้อเยื่อภายใต้นั้นก็จะหนาแน่นไปด้วยไฟโบรบลาสต์และเส้นใยคอลลาเจน ซึ่งจะค่อย ๆ เรียงตัวให้อยู่ในแนวที่รับความตึงเครียดได้ดีที่สุด เพื่อให้บาดแผลที่หายแล้ว มีความแข็งแรงเหมือนเดิม กำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ     นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ค้นพบความลับของวงจรชีวิตของจระเข้แอลลิเกเตอร์ คือแอลลิเกเตอร์สามารถกำหนดเพศของลูกน้อยได้ด้วยอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว หากไข่ของมันถูกเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 86 องศาฟาเรนไฮต์ ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของการฟักไข่ ไข่เหล่านี้จะฟักออกเป็นตัวเมียทั้งหมดและไข่ที่ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักออกมาเป็นตัวผู้ทั้งหมด ส่วนไข่ที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิระหว่าง 86-94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย นักวิจัยได้เริ่มสังเกตเห็นความลับนี้จากการเฝ้าดู เขาพบว่าจระเข้ที่วางไข่ในหนองบึงเฉอะแฉะเย็นชื้น ไข่จะฟักเป็นตัวเมีย ส่วนไข่ที่วางบนฝั่งที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึงจะออกมาเป็นตัวผู้ ปริศนาที่ว่าทำไมอุณหภูมิจึงกำหนดเพศได้ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าขณะที่อุณหภูมิสูนั้นตัวอ่อนจะใช้ไข่แดงหมดไปอย่างรวดเร็วจนเหลืออาหารน้อยไม่เพียงพอแก่การพัฒนาไข่เป็นเพศเมีย
ประโยชน์ของฟ้าแลบ ?     สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประมาณไว้ว่า ในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี ในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) สารประกอบนี้มีไนโตรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน1 อะตอม มันจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไป และกลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3) ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสาร เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืช ดังนั้น ถึงคนขวัญอ่อนจะไม่ค่อยชอบฟ้าแลบนัก แต่ก็ควรทำใจสักนิดให้ชอบสักหน่อยเพราะมีผลดีต่อชาวนาที่ผลิตพืชผักผลไม้มาให้เรากินอยู่ทุก ๆ วัน

ทำไมท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ?

แท้จริงแล้วท้องฟ้าเองไม่มีสี แสงสีฟ้าที่เห็นเกิดจากสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงอาทิตย์ โฟตอนของแสงสีฟ้ามีพลังงานมากกว่าโฟตอนของแสงสีอื่น จึงทำให้มันชนอะตอมอื่นออกไปได้มากกว่าและเคลื่อนลงต่ำมาเข้าตาเรา ดังนั้นเมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า เราเลยเห็นโฟตอนแสงสีฟ้ามาก ทำให้เห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า แต่สีของดวงอาทิตย์ขณะลับขอบฟ้าไม่ได้เป็นสีฟ้า เพราะเมื่อดวงอาทิตย์ลดต่ำลง เราจะเห็นแสงอาทิตย์ส่องเป็นมุมผ่านฝุ่นสกปรกในอากาศ ฝุ่นละอองเหล่านี้จะสะท้อนโฟตอนสีฟ้าส่วนใหญ่ออกไปก่อนที่แสงจะมาเข้าตาเรา จึงทำให้เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีส้ม ๆ แดง ๆ

อ้างอิง

https://pannapa501.wordpress.com/2013/03/04/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3/

วิทยาศาสตร์น่ารู้

วิทยาศาสตร์น่ารู้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg1FMLzEfvvKD2J_CFcn3g_iAMCm-reo4_DvGTa_4REQjlVDLMVyZd4hKIVpnR-BC1t8S5qisDclhVLvdyZC9Fxf_mZMvwvbaUYJ2uET5aMY4dAhaXeW04gK8XeYMhTBvloLhh_K2NLKaY/s1600/science-clip-art-13.gif



วิทยาศาสตร์มีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้คือ
  • วิทยาศาสตร์ได้มาจากประสบการณ์ และทดสอบด้วยประสบการณ์ ในที่นีความรุ้ที่มาจากประสบการณ์ เรียกว่า “ความรู้เชิงประจักษ์” หรือความรู้เชิงประสบการณ์ (Expirial Knowledge) โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้าร่วมกับทักษะการสังเกต 
  • วิทยาศาสตร์ต้องเป็นสาธารณะ ความจริงที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบจะต้องแสดงหรือทดลองให้ทุกคนเห็นได้เหมือนกัน และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ของส่วนตัวแต่เป็นสาธารณะ คือ ผู้อื่นอาจรู้เห็นอย่างเดียวกันกับผู้ค้นพบได้ 
  • วิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็นสากล นักวิทยาศาสตร์พยายามขยายความรู้ให้เป็นสากลมากที่สุดเพราะความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมีความหมายน้อย และขาดการยอมรับ 
  • วิทยาศาสตร์ช่วยในการคาดหมายอนาคต วิทยาศาสตร์มีลักษณะความเป็นสากลใช้ได้โดยทั่วไป จึงสามารถคาดหมายสิ่งที่จะเกิดในอนาคตได้ ทั้งนี้การคิดค้นกฎและทฤษฎีต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์เพื่อคาดหมายในอนาคต 
  • วิทยาศาสตร์เป็นปรนัย เมื่อวิทยาศาสตร์ถูกยอมรับและพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง ดังนั้นไม่ว่าใครจะนำไปพิสูจน์อีกเมื่อใด ที่ใดก็ตาม ผลที่ออกมาย่อมเหมือนเดิม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ เพราะวิทยาศาสตร์มีลักษณะไม่คงที่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เมื่อมีการค้นพบความรู้ใหม่ ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆ                               

    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

            ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตผล (Product) ทางวิทยาศาสตร์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (The Science Process) ซึ่งเป็นความรู้ที่ถือว่าเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะต้องทดสอบยืนยันได้ว่าถูกต้องจากการทดสอบหลายๆ ครั้ง

    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจแบ่งเป็น 6 ประเภท สรุปได้ดังนี้
    1. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สังเกตได้โดยตรง และจะต้องมีความเป็นจริงสามารถทดสอบแล้วได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง เช่น น้ำเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ข้อเท็จจริงแต่ละอย่างมีความหมายมากหรือน้อยต่างกัน แต่หากนำมารวมกันแล้วอาจทำให้มีความหมายมากขึ้น เกิดความรู้เพิ่มขึ้น 
    2. ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องมาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่ ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
      - ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการแบ่งประเภท เป็นการกำหนดสมบัติร่วมของสิ่งต่างๆ ไว้เป็นพวกๆ เพื่อใช้ในการบรรยายถึงสิ่งเหล่านั้นให้เข้าใจตรงกัน
      - ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของ ความคิดรวบยอดย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เป็นผลในการนำมาพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้า
      - ความคิดรวบยอดทางทฤษฎี เป็นการกำหนดสิ่งที่มองไม่เห็น แต่รู้ว่ามีสิ่งนั้นจริง เพราะมีหลักฐานสนับสนุนว่าเป็นจริง

       
    3. ความจริงหลักหรือหลักการ คือ กลุ่มของความคิดรวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถนำมาทดลองซ้ำได้ผลเหมือนเดิม 
    4. กฎ คือ หลักการอย่างหนึ่งแต่เป็นข้อความที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล แต่มักแทนความสัมพันธ์ในรูปสมการ 
    5. สมมุติฐาน เป็นคำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ หรือข้อความหรือแนวคิดที่แสดงการคาดคะเนในสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยการสังเกต 
    6. ทฤษฎี คือความรู้ที่เป็นหลักการกว้างๆ ซึ่งอาจเขียนในรูปแบบ (Model) เพื่อใช้อธิบายหรือพยากรณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่ในขอบเขตของทฤษฎีนั้น การยอมรับว่าทฤษฎีใดเป็นความจริงหรือไม่ พิจารณาจากทฤษฎีนั้นจะต้องอธิบายกฎ หลักการ และข้อเท็จจริงย่อยๆ ที่อยู่ในขอบเขตทฤษฎี หรือทฤษฎีนั้นจะต้องอนุมานออกไปเป็นกฎ หรือหลักการได้ และทฤษฎีนั้นจะต้องพยากรณ์ปรากฏการณ์ที่อาจเกิดตามมาได้        

      วิธีการทางวิทยาศาสตร์

              วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการหาความรู้ ทั้งนี้อาจมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละสาขา แต่ในภาพรวมมีลักษณะคล้ายกัน สรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
      • ขั้นที่ 1 การสังเกต หมายถึง การสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส รวมถึงเครื่องมือช่วยขยายความสามารถของประสาทสัมผัส และมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อย่างเป็นระบบ
      • ขั้นที่ 2 การตั้งสมมุติฐาน หมายถึง การคาดคะเนล่วงหน้าของคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ ทั้งนี้การตั้งสมมุติฐานเกิดจากการนำข้อมูลที่มาจากการสังเกตมาเป็นส่วนช่วย
      • ขั้นที่ 3 การทดลอง หมายถึง การดำเนินการตรวจสอบสมมุติฐาน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจากการสำรวจ การทดลอง หรือวิธีการอื่นๆ ประกอบกัน
      • ขั้นที่ 4 การสรุปผลการทดลอง หมายถึง การลงข้อสรุปจากผลการทดลอง ตรวจสอบผลจากการสรุป อาจเป็นส่วนที่ทำให้เกิดหลักการ กฎ ทฤษฎี และสามารถแสดงความสัมพันธ์
      เมื่อพิจารณาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา สามารถระบุเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
      • ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา
      • ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา
      • ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน
      • ขั้นที่ 4 สังเกตรวบรวมผล และ/หรือการทดลอง
      • ขั้นที่ 5 สรุปผลการสังเกต และ/หรือการทดลอง
      สรุปขั้นตอนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
      ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์อาจมีการจัดเรียงลำดับสลับกันได้บ้าง การแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อาจต้องอาศัยสิ่งต่างๆ ช่วย ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skill) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (ScientificAttitudes)                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            อ้างอิง                                                                                                                        http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/scientific_concepts_and_principles/06.html

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

วิทยาศาสตร์เบื้องต้น

วิทยาศาสตร์
http://fbi.dek-d.com/27/0465/9365/118957908

               
     ➧วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ต่างๆที่อยู่รอบตัวของเราในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีขั้นตอน มีระเบียบแบบแผน มีเหตุผลและหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ตามหลักวิชาการได้

           ➧ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราในรอบๆด้าน ในงานอาชีพต่างๆ  เครื่องมือเครื่องใช้   ตลอดจนผลผลิตต่างๆ  เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน   ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์   ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ   ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก    พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

            ➧วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
  1.      1. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
         2. วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
         3. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
         4. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
         5. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
         6. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
         7. วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
    ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆอยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต

                                                                           

  2. อ้างอิง  

  3.            https://www.gotoknow.org/posts/306599%20%5B10
  4.        
  5.          http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=455bd483bef891a5&pli=1




  1.   

  2.